A1: ผู้มีหน้าที่ต้องมายื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ได้แก่
1. ผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
2. ผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
3. ผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
4. ผู้ให้บริการแบบประยุกต์
A2: รายได้ที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี สามารถสรุปได้ 5 ประเภท คือ
1.รายได้จากการให้บริการ
1.1 การให้เช่าใช้โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ทั้งทางสาย & ไร้สาย)
- ตัวอย่าง เช่น ผู้รับใบอนุญาตประเภท Network Provider ให้บริการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์แก่ผู้รับใบอนุญาตประเภทService Provider ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง โดยรวบรวมช่องรายการแล้วยิงสัญญาณไปยังเครื่องรับของลูกค้า เกิดเป็นรายได้ค่าเช่าใช้โครงข่าย ของผู้ให้บริการประเภท Network Provider
1.2 การให้เช่าใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
- ตัวอย่าง เช่น ผู้ให้บริการ Netwok Provider ในส่วน Digital TV หรือที่เรียกว่า MUX จะทำการรวมช่องรายการแล้วส่งผ่านเสาหรือสายส่ง ดังนั้น ผู้รับใบอนุญาตประเภท Facilities Provider เช่น กฟผ.ก็จะมีรายได้จากการให้เช่าใช้เสาหรือสายส่งสัญญาณ เป็นต้น
1.3 การได้รับเงินบริจาค เงินอุดหนุน หรือสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม จากหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่น หรือจากบุคคลใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับใบอนุญาต
- ตัวอย่าง เช่น Thai PBS ผู้รับใบอนุญาตประเภท Service Provider แบบสาธารณะ ได้รับเงินอุดหนุนจาก สสส. ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี หรือการที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับเงินอุดหนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ก็ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี เช่นกัน
1.4 การให้บริการข่องรายการพิเศษ (Premium) หรือบริการเสริมอื่น ๆ
- ตัวอย่าง เช่น การที่ผู้รับใบอนุญาตประเภท Service Provider เรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากลูกค้าในรูปบัตรเติมเงิน เพื่อรับชมช่องรายการพิเศษ (Pay Per View) หรือ On Demand หรือ OTT หรือ ได้รับค่าบริการตั้งอัดรายการล่วงหน้าหรือเตือนรายการล่วงหน้า เป็นต้น
1.5 การได้รับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อต่างตอบแทน จากการประกอบกิจการ
- ตัวอย่าง เช่น การที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับค่าบริการตอบแทนในรูปสิ่งของ หรือบริการแทนตัวเงินสด หรือการแลกเปลี่ยนช่องรายการ (ยกทั้งผังรายการ) (Barter Trade) จึงต้องตีราคาตลาดหรือราคายุติธรรมของสิ่งนั้นขึ้นมาเพื่อนำไปเป็นฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี
2. รายได้ค่าสมาชิก
- ตัวอย่าง เช่น ผู้ให้บริการ Pay TV เรียกเก็บค่าสมาชิก Cable TV เป็นรายเดือน รายปี เรียกเก็บค่าสมาชิกแรกเข้า และการขายกล่องรับสัญญาณ ที่มีการจัดเก็บเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้บริการได้ทันที เป็นต้น
3. รายได้จากการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ตัวอย่าง เช่น รายได้ค่าสื่อโฆษณาที่ออกทางช่องรายการต่อ 1 ช่องรายการ หรือ แบบเหมารวมทั้งช่องรายการก็ตาม , การจัดวางตัวสินค้าให้ผู้ชมมองเห็นได้ผ่านช่องรายการ เป็นต้น
4. รายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการ
4.1 รายได้จากการแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ
- หมายถึง การที่ผู้รับใบอนุญาตช่องรายการประเภทที่ใช้คลื่นความถี่แล้วยังมีช่วงว่างในผังรายการ จึงแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการได้ แต่ไม่เกิน 40%
4.2 รายได้จากการร่วมผลิตรายการ
- หมายถึง การที่ผู้รับใบอนุญาตช่องรายการ ทำสัญญาตกลงร่วมกันผลิตและออกอากาศรายการ โดยมีการแบ่งรายได้กันในรูป Time Sharing หรือ Revenue Sharing ซึ่งผู้รับใบอนุญาตต้องนำรายได้ในส่วนที่แบ่งให้ผู้ร่วมผลิตรายการนั้นมาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีด้วย หรือการมีรายได้จากส่วนแบ่งผลโหวด หรือ SMS เป็นต้น
4.3 รายได้จากการขายต่อช่องรายการ
- หมายถึง การที่ผู้รับใบอนุญาตช่องรายการ ที่มีช่องรายการ Rating ดี ๆ มีคนนิยมดูเป็นจำนวนมาก จึงมีผู้ให้บริการ Pay TV มาขอซื้อไปให้ลูกค้าชม
4.4 รายได้จากการจำหน่าย ติดตั้ง บำรุงรักษา กล่องรับสัญญาณและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ แบบบอกรับสมาชิก ที่ระบุการใช้งานกับโครงข่ายใดโครงข่ายหนึ่ง
- ตัวอย่าง ที่ยกเว้นไม่เสียค่าธรรมเนียม เช่น กล่อง TV Digital ที่เข้าดูได้ฟรี ไม่มี Conditional Access (รหัสในการเข้าชมรายการ)
4.5 รายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ
- ตัวอย่าง เช่น รายได้ค่าปรับเนื่องจากลูกค้าชำระค่าบริการล่าช้า , ค่าปรับเนื่องจากลูกค้าทำอุปกรณ์รับสัญญาณเสียหาย เป็นต้น
4.6 รายได้อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การร่วมการงาน หรือการร่วมธุรกิจภายใต้ขอบเขตของใบอนุญาต , การขายข้อมูล เป็นต้น
- ตัวอย่าง เช่น รายได้จากการขายข้อมูลผลการวิเคราะห์ Rating คนดูให้กับ Media Agency เป็นต้น
5. รายได้อื่น ๆ ที่ผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการตามใบอนุญาต
- ตัวอย่าง เช่น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาต ผ่านช่องรายการของผู้รับใบอนุญาต หรือ รายได้จากการร่วมผลิตรายการ โดยที่เนื้อหาในการออกอากาศ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาต เป็นต้น
A3: เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ได้แก่
1. งบการเงินประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการแสดงรายละเอียดของรายได้ในแต่ละใบอนุญาตไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
(กรณีที่งบการเงินประจำปียังไม่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้นำส่งงบทดลองก่อน (ตย.1) เมื่อได้รับงบการเงินประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้นำส่งสำนักงาน กสทช. ภายใน 15 วัน (ตย.2)
2. แบบสรุปค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (นส.01) (ตย.3)
3. แบบแสดงรายได้ตามประเภทของรายได้ ที่นำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (นส.02) โดยแยกตามรายใบอนุญาต (ตย.4)
4. แบบแสดงรายได้ตามประเภทของรายได้แยกรายเดือน (ในกรณีที่ประกอบกิจการตามใบอนุญาตไม่เต็มปี) (ตย.5)
5. เอกสารการได้รับอนุมัติลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี
ทั้งนี้ สำนักงานอาจขอให้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมในภายหลังกรณีที่เอกสารไม่เพียงพอต่อการสอบทาน
A4: อัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่รอบบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3) ดังนี้
ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้าวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2560 ก็มีหน้าที่ต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ของปีถัดไป
A5:
หากไม่ยื่นชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของจำนวนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีที่พึงชำระ หรือที่ชำระไว้ขาด โดยเศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน ทั้งนี้ การที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ยื่นแบบแสดงรายได้ อาจมีผลให้ถูกพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
A6.1: หากผู้รับใบอนุญาตแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ว่าการประกอบกิจการของตน มีรายการข่าวสารหรือสาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เกินกว่าสัดส่วนที่กำหนด ก็สามารถได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ตามระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 (ตย.6)
A6.2: เฉพาะผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือ Service Provider เท่านั้น โดยต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า รายการของตนเป็นรายการข่าวสารหรือสาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามสัดส่วนของรายการ ที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนประเภทโครงข่าย หรือ Network Provider ไม่ได้รับสิทธิการพิจารณาลดหย่อน
A6.3: หมายถึง รายการข่าวสาร รายการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย รายการส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปะ วัฒนธรรม การให้ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ
A6.4: ผู้ประกอบการต้องยื่นเอกสารเหล่านี้ภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการ ประกอบด้วย
1. แบบคำขอรับการพิจารณาลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (ตย.7) และ (ตย.8)
2. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์
3. ตารางแสดงผังรายการที่ออกอากาศจริงตลอดรอบระยะเวลาบัญชี (ตย.9)
4. แบบแสดงสัดส่วนรายการเพื่อการขอลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (Hard Copies และ Soft File) โดยแสดงจำนวนเวลาที่ออกอากาศรวม จำนวนเวลาที่ออกอากาศซ้ำ และจำนวนเวลาที่ออกอากาศสุทธิ ของแต่ละชื่อรายการ (ตย.10) และ (ตย.11)
5. CD บรรจุ File เทปตัวอย่างรายการที่ออกอากาศ ทุกรายการ ตามที่แสดงชื่ออยู่ในไฟล์แบบแสดงสัดส่วนรายการ โดยให้สิทธิในการเลือกช่วงระยะเวลาที่ออกอากาศได้ (ไม่รวมโฆษณา)
A6.5: สำนักงาน กสทช.โดยคณะอนุกรรมการผังและเนื้อหารายการฯ จะทำการตรวจสอบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ ”รายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ” ภายในระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ยื่นเอกสารแจ้งความประสงค์อย่างครบถ้วน
A7: สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (นส.) เบอร์โทร 02-271-7600 ต่อ 5655, 5656, 5657, 5664, 5666, 5668, 5669, 5680, 5681, 5684, 5685 และ 5694 เบอร์โทรสาร 02-278-5492 หรือ broadcasting_tariff@nbtc.go.th